Lessons from the past…Auschwitz : ค่ายกักกันนรก

ช่วยไลค์ช่วยแชร์ครับ

ประวัติศาสตร์มีไว้ให้เรียนรู้ เพื่อคนรุ่นหลังจะได้ไม่ทำให้มันเกิดซ้ำอีก…

lostfile_jpg_2204992-2

Those who do not remember the past are condemned to repeat it

#George Santayana

 

Auschwitz ~ ความจริงหรือภาพลวง

ประวัติศาสตร์ที่เลวร้ายที่ถูกกล่าวขานต่อกันมาพร้อมหลักฐานเชิงประจักษ์มากมายเกี่ยวกับความโหดร้ายของกองทัพนาซีในช่วงของสงครามโลกเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวเป็นล้านๆ คน ทำให้หลายๆ คนอยากมาสัมผัส “ความจริง” ที่เกิดขึ้นที่นี่…ค่ายกักกันนาซีที่ใหญ่ที่สุด “Auschwitz”

lostfile_jpg_6993664-2

แต่อย่างไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์ นักวิชาการอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังกังขาว่า คำสารภาพและหลักฐานต่างๆ นั้นเป็นจริงหรือเกินจริงหรือไม่ ทั้งปริมาณศพและเถ้ากระดูกน่าจะมากเกินที่จะกำจัดได้ ห้องรมแก๊สไม่น่าจะป้องกันการรั่วของแก๊สออกมาได้ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อคนอื่นๆ จำนวนชาวยิวที่ถูกสังหารที่ผู้บัญชาการค่าย สารภาพมากเกินจริง ฯลฯ

แต่ถ้ามันเป็นเรื่องจริงสิ่งที่เกิดขึ้นมันก็โหดร้ายเกินบรรยายครับ

ภาพกว้างของ Auschwitz

Auschwitz (1940-1945) หรือค่ายเอาชีวิต เอ้ย เอ๊าชวิตซ์ อยู่ในเมือง Oswiecim (ออชเฟียชิม) ซึ่งห่างจากเมือง Krakow เมืองหลวงเก่าของโปแลนด์ไปทางตะวันตกประมาณ 40 กิโลเมตร ถูกก่อตั้งโดยชาวนาซีหลังจากที่เยอรมันยึดโปแลนด์ได้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้เป็นค่ายกักกันนักโทษการเมืองในช่วงแรก (ปี 1940) แต่ต่อมาหลังจากปี 1942 ผู้ที่ถูกพามาที่นี่ส่วนใหญ่จะเป็นชาวยิวจากหลายๆ ประเทศในยุโรป ที่นี่เป็นที่รู้จักดีของชาวโลกในฐานะที่เป็นสถานที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวของผู้นำเยอรมัน “ฮิตเลอร์” (Adolf Hitler)

ฮิตเลอร์มีความรู้สึกว่าสายเลือดชาวยิว (ที่มีอยู่มากมายในเยอรมันและประเทศอื่นๆ ในยุโรป) จะมาผสมกับเลือดเยอรมันบริสุทธิ์ เป็นการขัดขวางการเกิดมนุษย์พันธุ์ใหม่ ที่ฉลาด เข้มแข็งและมีความสามารถ ซึ่งต้องมีสายเลือดเยอรมันบริสุทธิ์ คือมีองค์ประกอบทางกายภาพครบถ้วน เช่น มีผมสีทอง นัยน์ตาสีฟ้า จึงสั่งจับยิวและยิปซีส่งไปยังค่ายกักกันตามที่ต่างๆ เพื่อสังหารให้หมดสิ้น ค่ายกักกันที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงว่าสังหารโหดชาวยิวมากที่สุด คือ “Auschwitz” นี่เอง

นี่เป็นหนึ่งเหตุผลที่มีการกล่าวอ้างถึงสาเหตุที่ฮิตเลอร์เกลียดชาวยิว แต่จะมีสาเหตุอื่นหรือไม่ลองอ่านกระทู้ของคุณ เวย์คุง จากพันทิพดูครับ  http://pantip.com/topic/31298046

จะว่าไปที่นี่ไม่ใช่ที่เดียวนะครับ ค่ายกักกันของชาวนาซี มีกระจายอยู่หลายที่ในยุโรปทั้งในโปแลนด์เอง เยอรมัน ฯลฯ ซึ่งแต่ละที่ก็มีประวัติอันน่าสลดหดหู่ไม่ต่างกัน

concentration-camp-1933-1945รูปแสดงค่ายกักกันทั้งหมดในช่วงเวลา 1933-1945 จุดใหญ่ๆ แสดงค่ายหลัก ส่วนจุดเล็กๆ แสดง subcamp

ผู้คนที่เสียชีวิตที่ Auschwitz นี้มีกว่า 1.1 ล้านคน โดย 90% ของเหยื่อในจำนวนนี้เป็นชาวยิว โดยสาเหตุของการเสียชีวิต คือ ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมโดยการยิงเป้า, รมแก๊สพิษ, เป็นโรคระบาด หรืออดตาย ค่ายนี้มีนาย รูดอล์ฟ เฮิสส์ (Rudolf Höss) เป็นผู้บัญชาการค่าย
ต่อมาปลายปี 1940 ที่นี่มีการแตกสาขาออกไปอีกหลายที่เนื่องจากจำนวนของนักโทษ(ที่บริสุทธิ์)มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จน Auschwitz I รองรับไม่ไหว ทำให้ที่เมืองนี้มีค่ายใหญ่ๆ อยู่ 3 แห่ง คือ Auschwitz I ซึ่งเป็นค่ายหลัก (เมษายน 1940), Birkenau (Auschwitz II) (ตุลาคม 1941) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามาก และ Monowitz (Auschwitz III) (ตุลาคม 1942) และยังมีค่ายย่อยมีมากมาย

picture1

อะไรทำให้มาที่นี่

ปกติเป็นคนไม่ค่อยสนใจเรื่องราวประวัติศาสตร์อะไรเท่าไรนัก แต่พอได้ดูหนังเรื่อง The Boy in Striped Pajamas อยู่ๆ ก็อยากมาที่นี่ซะงั้น ประกอบกับมีเวลาว่างช่วงปลายเดือนกันยายนอยู่พอดี เลยจัดโดยไม่ต้องลังเล ถึงแม้จะไม่มีคนสนใจมาด้วยก็เถอะ (T..T) เพราะที่นี่ชวนใครก็คงไม่มีใครมา ถึงแม้จะมาแวะแบบเป็นทางผ่านเวลามาเที่ยวปรากหรือเยอรมัน ฯลฯ ก็เถอะครับถ้างั้นจะรออะไร แค่เพียงแค่ไม่เกินอาทิตย์หลังจากดูหนังเรื่องนี้ ตั๋วเครื่องบินและ plan คร่าวๆ ก็คลอดอย่างง่ายดาย 555 กล้ามาก วีซ่าอะไรก็ยังไม่ได้ทำเลย

The Boy in Striped Pajamas ~ ฉากสุดท้ายของเรื่องนี้บีบหัวใจอย่างมาก

strip

ยังมีหนังอีก หลายเรื่อง นะครับที่สะท้อนภาพความโหดร้ายของนาซีที่กระทำต่อชาวยิว ผมก็ดูไม่กี่เรื่องเอง เรื่องแรกที่พอจะระลึกได้คือ Schindler’s List ซึ่งดูตั้งแต่เด็ก จำรายละเอียดก็ไม่ค่อยได้ และ Life is Beautiful

การเดินทาง

  • เดินทางไปเอง
    1. เช่ารถยนต์
    2. แท็กซี่
    3. รถสาธารณะ มีให้เลือกทั้ง รถบัส และ รถไฟ ซึ่งรถมักจะออกจากสถานีรถบัสซึ่งอยู่ด้านหลังของสถานีรถไฟหลักของเมือง Krakow คือสถานี Krakow Glowny และไปสุดทางที่สถานี Oswiecim ถ้ามาทางรถไฟต้องเดินต่อไปยัง Auschwitz I ซึ่งใช้เวลาประมาณ 20 นาที หรือแท็กซี่ครับ (อย่าคิดเดินไป Birkenau นะครับ ให้ไปที่ Auschwitz I ก่อน จะมีรถ shuttle รับส่งฟรีไปยัง Birkenau อีกที) แต่ถ้ามาทางรถบัส จะมาส่งถึงหน้า Auschwitz I เลยไม่ต้องเดินไกล
  • ซื้อทัวร์ อันนี้เป็นวิธีที่สะดวกที่สุดของที่สุด เพราะส่วนใหญ่จะมีรถรับส่งถึงโรงแรมเลย ซึ่งมีให้เลือกมากมายครับ ทั้งซื้อออนไลน์ไปก่อนหรือเดินหาเอาในเมือง Krakow ซึ่งก็จะได้ราคาที่ถูกกว่า
  • สามารถออกเดินทางตอนเช้าจาก Krakow (มีรถบัสหลายรอบมาก รอบเช้าสุดน่าจะประมาณ 7 โมงกว่าๆ สามารถซื้อตั๋วที่สถานีได้เลย) และเที่ยวเป็น one-day trip ได้ครับ โดยรถบัสขากลับก็ขึ้นหน้าค่ายเลย ออกทุกครึ่งชั่วโมง รอบสุดท้ายประมาณ 19.45 น.
  • ผมเลือกเดินทางไปเองโดยรถไฟจาก Krakow และไปพักที่ Oswiecim ก่อน 1 คืนเพราะอยากเริ่มทัวร์รอบเช้าตอน 9 โมง ไม่งั้นต้องออกเดินทางจาก Krakow เช้ามากๆ (ขี้เกียจตื่น) ซึ่งที่ Oswiecim มีโรงแรมที่ใกล้ Auschwitz ให้เลือก 4-5 แห่ง (ลองเข้า booking.com หรือ airbnb ดูครับ) ราคาประมาณ 1,000-1,500 บาทต่อคืน

เดินเที่ยวในค่ายอย่างไร

ถ้ามาถึงก่อน 9 โมง (เปิด 8 โมงเช้า) หรือเข้าหลัง 15.00 น. สามารถเข้าไปเดินเที่ยวเองได้โดยไม่ต้องมีไกด์ครับ (เข้าฟรี) แต่ถ้ามาหลังจากนั้นจำเป็นต้องมีไกด์นำทัวร์ (ซึ่งต้องจ่ายเงิน) มีหลายชนิดของทัวร์ให้เลือกครับ

ทัวร์จะเริ่มที่ Auschwitz I แล้วไปต่อที่ Birkenau ซึ่งจะมี shuttle bus รับ-ส่งฟรีทุก 10 นาที โดย มีทัวร์หลายชนิด หลายภาษาให้เลือกครับ

  • Guided tours for individual visitors (3.5 ชั่วโมง) ราคา 35 PLN (แปลงเป็นบาทไทยก็คูณ 10 โดยประมาณ)
  • One-day study tours (6 ชั่วโมง) ราคา 70 PLN
  • Two-day study tours (2 และ 4 ชั่วโมง)
lostfile_jpg_2498176
Guide Tour

ปล. รอบหลัง 15.00 น.คนต่อแถวยาวมาก (แถวตรวจ security) นะครับเพราะเข้าฟรี ตอนผมเสร็จทัวร์กะจะมาเข้า Auschwitz I อีกรอบหลังบ่ายสามเพื่อเก็บตก exhibition ที่ทัวร์ไม่ได้พาเข้า แต่เห็นคิวแล้วไม่ไหวเลยกลับดีกว่า

Note: ที่นี่จำกัดขนาดกระเป๋าที่จะเอาเข้าในค่ายนะครับ ขนาดต้องไม่เกิน 30x20x10 เซนติเมตร หรือประมาณหน้ากระดาษ A4 ถ้ามีสัมภาระ เขามีอาคารเล็กๆ (อยู่ก่อนเข้า security check) ให้ฝาก ในราคา 3 PLN ต่อใบครับ

lostfile_jpg_535851
ที่ฝากกระเป๋า

เริ่มการเดินทาง

จุดเริ่มต้นคือที่ Auschwitz I ตรงหมายเลข 6 ตามแผนที่ด้านล่าง มีป้ายทางเข้า เขียนว่า “Arbeit Macht Frei”

auschwitz-map-1

Work Will Set You Free

  • เป็นความหมายของคำว่า “Arbeit Macht Frei” ที่จุดประกายความหวัง (ที่ไม่เป็นจริง) ให้กับชาวยิวและเชื้อชาติอื่นๆ ที่ถูกพามาที่นี่
  • จริงๆ ที่นี่สามารถเดินเที่ยวเองได้ครับ เพราะแต่ละจุดก็มีคำอธิบายอยู่เหมือนกัน แต่อาจจะงงๆ หน่อยหรือหลงได้ เพราะมันกว้างและมีหลายตึก แผนที่ข้างล่างเป็นเส้นทางเดินที่ไกด์ทัวร์นำเดินครับ โดยเริ่มต้นตรงลูกศรสีขาวด้านล่างสุดของภาพซึ่งเป็นตรงป้าย “Arbeit Macht Frei”

sdd6299-copy

สภาพภายในค่าย Auschwitz I

lostfile_jpg_2123712
ทางเดินก่อนเข้าค่าย เป็นอาคารของพวกทหารและผู้บัญชาการ

lostfile_jpg_2313408

lostfile_jpg_2218624
ด้านซ้ายเป็นโรงครัว และรั้วลวดหนามไฟฟ้าหน้าค่าย
lostfile_jpg_2352576
ทางเดินระหว่าง block ภายในค่าย ยังดูอ้างว้างแม้คนจะเดินอยู่เยอะก็ตาม
lostfile_jpg_3052416
สภาพโรงนอนของ Auschwitz I ซึ่งถือว่าดูดีกว่าที่ Birkenau มาก

lostfile_jpg_4405632

lostfile_jpg_4356224
รั้วลวดหนามไฟฟ้าโดยรอบ

lostfile_jpg_4645376lostfile_jpg_4794240

 

ภาพด้านล่างเป็นสถานที่จบชีวิตของผู้บัญชาการค่าย-นาย รูดอล์ฟ เฮิสส์ (Rudolf Höss) ซึ่งหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง เขาถูกตัดสินให้ถูกแขวนคอที่บริเวณใกล้ๆ กับบ้านพักของเขาในค่าย Auschwitz I นั่นเอง

lostfile_jpg_4744448

เรื่องเล่าจากอดีต

ที่ Auschwitz I จะมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์รวมถึงห้องรมแก๊สด้วย เพราะพื้นที่เกือบทั้งหมดรอดพ้นจากการทิ้งระเบิดจากสงครามและการทำลายหลักฐานของนาซี โรงนอน (barrack หรือ block) เดิมจะถูกบำรุงรักษาและจัดเป็นที่แสดงเรื่องราวต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่ละ block จะมีเรื่องราวที่แตกต่างกันไป

  • Block ที่จัดแสดงเรื่องราวของแต่ละประเทศ มีหลาย block ครับ เช่น Block 13, 15, 16, 17, 18, 20 และ 21 ซึ่ง block เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในโปรแกรมของทัวร์ ต้องเดินดูเอง
  • Block ที่จัดแสดงเรื่องราวหลักๆ ของค่าย มีประมาณ 5 blocks คือ 4, 5, 6, 10 และ 11

 

Block 4 (Extermination) เป็นเรื่องราวภาพรวมของ Auschwitz

lostfile_jpg_2586112
Block 4 : Extermination

Block 5 (Physical evidence of crime) รวบรวมข้าวของและ “ส่วนหนึ่ง” ของชีวิตของผู้โชคร้ายนับแสนคน

lostfile_jpg_2891008
Block 5 : Physical evidence of crime

Block 6 (Life of prisoners) เรื่องราวการใช้ชีวิตที่น่าหดหู่ของคนที่อยู่ในค่าย

lostfile_jpg_3467072
Block 6 : Life of prisoners

Block 10 (Experiment)

เป็น block ที่ใช้ทำการทดลองแสนโหดเหี้ยมต่างๆ ที่ block นี้ไม่ได้เปิดให้เข้า แต่มีลานกว้างซึ่งอยู่ระหว่าง block 10 และ 11 ให้เข้าชม ซึ่งใช้เป็นแดนประหารเหล่านักโทษ (death wall หรือ black wall)

Block 11 (death block)

ภายในเคยเป็นห้องขังที่ทรมานมากกว่าที่เห็นกันอยู่ใน block ต่างๆ มีทั้งห้องขังยืน (standing cell) และห้องขังอดอาหาร (จนตาย) (starvation cell)

lostfile_jpg_3764096
Block 10 และ 11

Block 3 (Reserved block for study tour)

เป็น block ที่มีสภาพเดิมๆ ของค่ายอยู่ค่อนข้างเยอะทีเดียว ทั้งผนัง พื้น และกลิ่นอับๆ ซึ่ง block นี้จะสามารถเข้าได้เฉพาะกลุ่มของ study tour เท่านั้น ถ้าเป็นแบบ general tour หรือไม่มีไกด์จะเข้าไม่ได้ นอกจาก block นี้ยังมี block 2 อีกที่ที่จัดเป็น reserved block แต่ตอนผมไป เขาไม่ได้พาเข้าครับ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ตรงลิงค์นี้ ครับ

lostfile_jpg_3302784
ทางเดินใน block 3
lostfile_jpg_3145216
สภาพผนังเดิมๆ ที่ยังคงไว้ (block 3)

 

ส่วนที่ Birkenau สถานที่ส่วนใหญ่ถูกทำลายไปเยอะ ส่วนใหญ่เป็นจากการทำลายหลักฐานของชาวนาซีหลังจากที่ถูกทหารโซเวียตเข้าโจมตีตอนสิ้นสุดสงคราม ที่นี่จะมีให้ดูแค่สภาพของโรงนอนเดิมๆ จัดให้ดูไม่กี่หลัง และมีส่วนของอนุสาวรีย์รำลึกถึงผู้เสียชีวิตอยู่ด้านหนึ่งของค่าย

lostfile_jpg_5488256
Birkenau (Auschwitz II)

การคัดสรร

ตู้รถไฟที่ใช้ “ขน” คนมาที่ค่ายกักกัน คันที่นำมาแสดงที่ค่าย Birkenau (ภาพล่าง) นั้นเป็นคันจริงที่นำมาจากเยอรมัน (ทาสีใหม่)

lostfile_jpg_7035776lostfile_jpg_5790400

มาสู่ค่ายนรก และลานในภาพด้านล่างเป็นลานที่ใช้ “คัดสรร” คนที่มาถึง

lostfile_jpg_7047936lostfile_jpg_7093248

ผู้คนจำนวนมากที่ รอดมาจากการเบียดเสียดยัดเยียดกันในตู้รถไฟ

selection
การแยกฝั่งชายหญิงและเด็ก คงเป็นที่สุดท้ายที่ครอบครัวได้เห็นหน้ากัน…

selection-2

 

หลายคนถึงแม้จะเหนื่อยล้าจากการถูก ขนมาจากบ้านเกิดเมืองนอน ยังมีสีหน้าแห่งความหวังว่าจะมีชีวิตที่ดีกว่าเพราะโดนหลอกว่าจะถูกมายังที่ๆ ดีกว่า แต่หารู้ไม่ว่า พวกเขาแทบจะไม่มีอนาคตเหลืออยู่เลย

ขั้นตอนต่อไปเป็น “การคัดสรร” … ไม่เหมือนหมวกคัดสรรของแฮร์รี่ พอตเตอร์ ที่จะนำพวกเด็กๆ ไปสู่อนาคตที่งดงาม แต่การคัดสรรของที่นี่เป็นเหมือนด่านแรกของทางเดินสู่ประตูนรก ไม่ว่าจะชี้ไปซ้ายหรือขวา มีแค่ทางเลือกที่ว่า จะตายช้าหรือตายเร็วเท่านั้น… โดยผู้ทำการเลือกคือ หมอ Josef Mengele (ตามรูปบนด้านล่าง คือคนที่ยืนเท้าเอวและรูปล่างคือคนที่ใส่หมวกชี้มืออยู่นั่นล่ะครับ) ผู้ได้รับสมยานามว่าเป็น  “Angel of Death” โดยจะคัดผู้หญิง เด็ก คนชรา และคนที่ดูโหงวเฮ้งแล้วว่าไม่สามารถใช้งานได้ออกไปอีกแถวเพื่อกำจัด (ฆ่า) ซะ ความชั่วร้ายของหมอคนนี้ยังไม่มีแค่นี้ครับ ติดตามได้ต่อไปด้านล่าง

selection-copy

 

จากนั้นคนที่ไม่มีประโยชน์จะถูกพาไป “อาบน้ำ” ถอดเสื้อผ้า โกนผม และเรียงแถวเข้าห้อง “อาบน้ำ” ซึ่งมันก็คือการจัดฉากพาไปรมแก๊สนั่นเอง ส่วนคนที่เหลือ ก็ถูกพาเข้าค่าย ด่านแรกที่พบเป็นการบรรเลงดนตรี orchestra ให้ตายใจ บริเวณด้านข้างของโรงครัว ซึ่งอยู่ตรงป้ายทางเข้านั่นเอง

lostfile_jpg_2285568

lostfile_jpg_2232576
โรงครัวด้านหน้าของค่าย

 

หลังจากนั้นจะพาไปโกนผม อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าและ “ลงทะเบียน” ซึ่งช่วงแรกมีการถ่ายรูปและลงบันทึก แต่ต่อมาเมื่อมีจำนวนคนมากขึ้น การถ่ายรูปเป็นการสิ้นเปลือง จึงมีการสักหมายเลขลงบนแขนของพวกเขาเหล่านั้นแทน และจากนั้นต่อไปพวกเขาก็จะไม่มีชื่อเหมือนมนุษย์คนอื่นๆ อีกต่อไป…

lostfile_jpg_3456064
รูปของผู้ถูกพามาที่นี่ที่ถูกถ่ายตอนลงทะเบียน ถูกขยายให้ใหญ่ขึ้นและแสดงในโถงของ block 6
lostfile_jpg_3585664
รูปของทุกคนที่แขวนที่ block 6 เสียชีวิตทั้งหมด…

lostfile_jpg_3368768

 

  • ข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกริบไว้ กระเป๋าเดินทางที่มีการลงชื่อ ที่อยู่ไว้อย่างดี เพราะหวังว่าจะได้คืน, แว่นตา, ขาเทียมของผู้ “ไร้ประโยชน์” ถูกถอดเก็บไว้ ส่วนเจ้าของขาเทียมเหล่านี้…คงไม่ต้องบอกถึงชะตากรรม
  • แต่ที่จุกที่สุดคือภาพกองผมของคนเหล่านั้นที่ถูกโกนออกมาตอนถึงค่ายหรือตอนก่อนที่จะถูกรมแก๊ส นำมารวมกองไว้สูงท่วมหัว นำ้หนักรวมเป็นตันๆ ซึ่งจัดแสดงไว้ที่ block 4 ซึ่งภาพกองผมนี่ห้ามถ่ายรูปนะครับ ไม่ควรฝ่าฝืนถ่ายออกมาเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เสียชีวิต รูปด้านล่างนี่เอามาจาก official website ของ Auschwitz.org ส่วนขาเทียมและแว่นตาช่วงผมไปเขาปิดเลยเอารูปในเวบมาให้ดูแทน
  • ผมของมนุษย์ที่โกนออกก็เพื่อป้องกันการระบาดของเหาและจะรวบรวมเอาไปถักเป็นเสื่อและใช้ยัดที่นอนไม่ใช่ขนม้าอย่างที่กล่าวอ้าง

exhibit

กระเป๋าเดินทาง (จัดแสดงไว้ที่ block 4)lostfile_jpg_2864704

รองเท้า (block 4)lostfile_jpg_2929856lostfile_jpg_2944512

ถ้วยโถโอชาม และอุปกรณ์อื่นๆ (block 4)lostfile_jpg_3009344lostfile_jpg_3021504

เสื้อผ้า (อาคาร Camp Sauna ที่ Birkenau)lostfile_jpg_6652032

เสื้อผ้าและรูปของเด็กๆ ที่ถูกพามาที่ค่ายนี้ (block 4)lostfile_jpg_3610432

อุปกรณ์เครื่องใช้อื่นๆ (จัดแสดงไว้ที่อาคาร Camp Sauna ที่ Birkenau)lostfile_jpg_6571968

รูปถ่ายที่หลงเหลือ (จัดแสดงไว้ที่อาคาร Camp Sauna ที่ Birkenau)lostfile_jpg_6638016

 

ภาพวาดของเด็กๆ ที่พบ เห็นบอกว่าทั้งในค่ายและนอกค่ายที่เด็กๆ ใช้เป็นที่หลบซ่อนการถูกจับ ถูกรวบรวมและคัดลอกไว้ มาแสดงบนผนังสีขาวที่ Auschwitz I ที่ block 27

ชีวิตที่เป็นเหมือนฝัน (ร้าย)

เนื่องจากพวกเขาถูกหลอกว่าจะได้ไปใช้ชีวิตใหม่ที่ดีกว่า คนเหล่านั้นจึงขนสมบัติข้าวของเครื่องใช้ติดตัวมาพอสมควร กระเป๋าเดินทางก็เขียนชื่อระบุตัวตนอย่างดี แต่พอมาถึงกลับโดนยึดไปทั้งหมด โดยสิ่งของเหล่านั้นจะถูกนำไปรวบรวมไว้ที่โรงเก็บของที่เขาเรียกกันว่า Kanada (ที่ใช้ชื่อนี้เพราะถือว่าแคนาดาเป็นประเทศที่ร่ำรวย)

lostfile_jpg_6232192
ข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกเก็บไว้ที่ Kanada เป็นภาพที่ถูกถ่ายไว้หลังจากทหารโซเวียตบุกยึด Auschwitz
lostfile_jpg_6416128
เครื่องใช้ส่วนหนึ่งที่ถูกแสดงไว้กลางแจ้งที่ Kanada II (Birkenau)
lostfile_jpg_6385792
Kanada II ที่โดนทำลายจากการระเบิด เพื่อทำลายหลักฐานโดยพวกนาซีตอนที่ถูกบุกยึดโดยทหารโซเวียต

นี่หรือชีวิตที่ฝันไว้…

ภาพด้านล่างเป็นภาพที่วาดโดยอดีตผู้ถูกกักกันที่รอดชีวิตออกมา ซึ่งแสดงถึง กิจวัตรประจำวัน และสิ่งที่พวกเขาต้องเจอในแต่ละวัน ~ (ซ้ายบน) ห้องนอนที่แออัดยัดเยียด, (ขวาบน) การอาบน้ำชำระร่างกายต้องทำอย่างรวดเร็วในเวลาที่จำกัดเป็นนาที และไม่เคยมีแม้แต่สบู่ให้ใช้, (ซ้ายล่าง) อาหารที่มีแบบจำกัดจำเขี่ย, (ขวาล่าง) แม้ตอนปลดทุกข์ก็ยังมีเวลาให้แค่หนึ่งนาทีต่อคน

lifestyle

เครื่องแบบlostfile_jpg_3887040lostfile_jpg_3430784

ชีวิตที่นี่…

  • ทุกคนต้องทำงาน มีการเช็คจำนวนคน (roll call) ทั้งเช้าตอนก่อนทำงานและตอนเย็นหลังกลับจากทำงานซึ่งถึงแม้จะตายก็ต้องมีคนแบกศพกลับมาขานชื่อว่าอยู่ครบ ไม่มีคนหายไป (ภาพล่าง)

lostfile_jpg_3573440

ลานที่ใช้สำหรับเช็คชื่อlostfile_jpg_4552128

  • ถ้ามีคนหายไปคนที่เหลือจะโดนทำโทษ หรือขู่ว่าจะฆ่าคนในครอบครัวแทนถ้ารู้ว่าใครหายไป
  • สุขลักษณะที่ไม่ดีทำให้มีการระบาดของโรคต่างๆ มากมาย เช่น ไข้ไทฟอยด์, วัณโรค, โรคบิด, เยื่อหุ้มสมองอักเสบ รวมทั้งการขาดอาหาร ทุพโภชนาการและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะมีโรงพยาบาล แต่ก็ไม่ต่างอะไรกับโรงฆ่าสัตว์ เพราะโรงพยาบาลจะดูแลอย่างดีเฉพาะพวกทหารนาซีเท่านั้น

อาหารเช้า เป็นซุปใสๆ กาแฟหรือชา และขนมปังก้อนเล็กๆ (block 6)lostfile_jpg_3511296

สภาพร่างกายที่ทรุดโทรม เพียงไม่กี่เดือนหลังเข้ามาที่ค่ายแห่งนี้ ถ้าไม่ถูกฆ่าก็ต้องขาดอาหารตาย (block 6)lostfile_jpg_3499712lostfile_jpg_3536448

 

สภาพของโรงนอนของ Block 3 ของ Auschwitz I ที่เปิดให้ชมเฉพาะกลุ่ม study tour ที่ผนังและพื้นก็ยังคงรักษาสภาพของวัสดุเดิมๆ อยู่ (block นี้เปิดให้เดินเฉพาะชั้น 1 เพราะชั้นสองค่อนข้างไม่แข็งแรง เลยไม่ให้ขึ้นไปชม)

lostfile_jpg_3173312lostfile_jpg_3207744lostfile_jpg_3219328

 

ห้องอาบน้ำที่แต่ละคนมีเวลาไม่เกินนาทีในการชำระร่างกาย จะเห็นว่ามีร่องไว้วางสบู่ แต่จริงๆ ไม่เคยมีสบู่แม้แต่ก้อนเดียว

lostfile_jpg_3231040lostfile_jpg_3328256lostfile_jpg_3278400

lostfile_jpg_3862144
ห้องหนึ่งใน block 3 เป็นห้องที่พบกองศพของผู้เสียชีวิตในตอนที่ทหารโซเวียตบุกยึดค่าย

 

สภาพโรงนอนและห้องส้วมของ birkenau แย่กว่ามากๆ ทั้งอับ หนาวและแออัด แรกๆ โรงนอนเดิมทำจากไม้ซึ่งแปรสภาพมาจากคอกม้า แต่พอคนมากขึ้น ก็มีการสร้างโรงนอนที่สร้างจากอิฐเพิ่มเติม

lostfile_jpg_5046016

 

ภายในคอก (โรงนอน) อับมาก มีช่องระบายอากาศแค่ถ้าบนอย่างที่เห็นในรูปล่าง และมีเตาผิงแต่ก็ช่วยเรื่องความอุ่นได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะช่วงฤดูหนาวซึ่งบางครั้งอุณหภูมิติดลบด้วย

lostfile_jpg_5099520lostfile_jpg_5113216

 

ที่นอนแคบและอับ ชั้นหนึ่งๆ จุคนไว้มากกว่า 7 คน และนอนแบบสลับฟันปลา หัว-เท้า เอา

lostfile_jpg_5299328lostfile_jpg_5249344lostfile_jpg_5236480lostfile_jpg_5348160lostfile_jpg_5337728

 

สภาพห้องสุขา ลองนึกภาพการทำภารกิจตามรูปวาดด้านบนดูครับ แต่ละคนมีเวลาปลดทุกข์แค่คนละนาทีก็ต้องลุกให้คนอื่นมานั่งแทนต่อไป ไกด์บอกว่าคนที่โชคดีที่สุดคือคนที่ทำงานในส้วมนี้ ถึงแม้ว่าต้องคอยโกยสิ่งปฏิกูลไปทิ้ง แต่คนเหล่านี้มีเวลาที่จะปลดทุกข์ได้สบายๆ ไม่ต้องเร่งรีบ และเป็นคนที่มักจะมีโอกาสชำระล้างร่างกายตัวเองให้สะอาดกว่านักโทษคนอื่นๆ เพื่อป้องกันโรคระบาดที่อาจมาจากสิ่งปฏิกูลเหล่านี้

lostfile_jpg_5165568

โรงพยาบาลของปวงชน

สำหรับพวกนาซีนั้นมันคือสถานที่การบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วยของพวกตนเองที่ค่อนข้างดีทีเดียว แต่สำหรับผู้ถูกกักกันแล้วมันคือนรกชัดๆ โดยที่มี หมอเป็นมัจจุราช โดยหมอเหล่านี้จะใช้ผู้ป่วยเหล่านี้ (หรือหลายครั้งก็เป็นคนปกติที่ไม่ป่วยเลย) ไปทำการทดลองอันโหดร้าย ซึ่งสถานที่ทำการทดลองส่วนใหญ่จะทำที่ Block 10

lostfile_jpg_3649728

josef-mengele-copy
(ซ้ายไปขวา) Josef Mengele, Herta Oberhauser, Johann Paul Kremer, Carl Blauberg

รูปบนเป็นรูปหมอๆ ที่จะมีชื่อตราตรึงในประวัติศาสตร์ความโหดเหี้ยมไปตลอดกาล (ส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกหลายคน) เรียงจากซ้ายไปขวา

1. “Angel of Death” หรือ Dr. Josef Mengele

เขาเป็นสมาชิกพรรคนาซีเมื่อปี ค.ศ. 1937 เป็นผู้คัดเลือกว่าคนที่ถูกพามาที่นี่ใครจะต้องตายทันที หรือสามารถเก็บไว้ใช้งานก่อนได้ ครั้งหนึ่งมีการระบาดของเหาในค่าย หมอคนนี้ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมการแพร่ระบาดโดยการเผาโรงนอนที่มีการระบาดไปพร้อมกับผู้ป่วยทั้งเป็น กลุ่มเป้าหมายทางการทดลองของเขาคือ ฝาแฝด คนแคระ (รูปล่าง) และผู้ที่มีความผิดปกติทางร่างกายต่างๆ การทดลองเขา เช่น การฉีดเลือดของฝาแฝดคนหนึ่งที่ถูกทำให้ติดเชื้อเข้ายังฝาแฝดอีกคนเพื่อดูการเปลี่ยนแปลง การลองฉีดสาร Chloroform เข้าทางหัวใจโดยตรง เป็นต้น

จุดจบ : หลังสงคราม เขาได้หนีไปใช้ชีวิตอยู่ที่อเมริกาใต้ และเชื่อว่าเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดสมอง (stroke) ขณะกำลังว่ายน้ำในปี 1979

2. Dr. Herta Oberheuser

เธอคนนี้ทำการทดลองเกี่ยวกับการรักษาบาดแผลที่เกิดจากสงคราม โดยการ “สร้าง” บาดแผลที่ต้องการขึ้นมา โดยการกรีดผ่าร่างกายของเชลยให้เกิดบาดแผล แล้วใส่ เศษดิน เศษกระจก เศษเหล็กเข้าไปเพื่อเป็นการจำลองแผลขึ้นจนอับแสบอย่างรุนแรง แล้วทำการรักษาด้วยการใช้ยาสูตรต่างๆ
จุดจบ : หลังสิ้นสุดสงคราม เธอถูกดำเนินคดีในฐานะอาชญากรสงคราม และถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 20 ปี แต่ได้รับการลดโทษและปล่อยตัวในปี 1952 หลังจากได้รับการปล่อยตัวเธอแอบไปประกอบอาชีพเป็นแพทย์ แต่ถูกจับได้และถูกยึดใบอนุญาตประกอบวิชาไป และเสียชีวิตในปี 1978

3. Dr. Johann Paul Kremer

เขาทำวิจัยเกี่ยวกับผลของร่างกายต่อการขาดอาหาร และทำการฉีดสาร phenol เข้าไปในร่างกายทางหัวใจโดยตรงและนำอวัยวะต่างๆ มาทดลอง
จุดจบ : ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต แต่ได้ลดโทษจนถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อปี 1958 และเสียชีวิตในปี 1965

4. Dr. Carl Clauberg

เป้าหมายงานวิจัยของเขามุ่งไปยังผู้ถูกกักกันผู้หญิงเป็นหลัก โดยเขาทำงานวิจัยเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยการฉีดสารเคมีเข้าไปทางช่องคลอดของเหยื่อแล้วติดตามดูการอุดตันโดยพังผืดของท่อรังไข่ ผู้หญิงเหล่านั้นมักมีภาวะแทรกซ้อนที่ทรมาน ไม่ว่าจะเป็นติดเชื้อ เยื่อหุ้มช่องท้องอักเสบรุนแรง เลือดออกไม่หยุด และเสียชีวิต และบางรายถูกฆ่าเพื่อการผ่าชันสูตร

จุดจบ : เขาหนีไปหลังสงครามและถูกจับตอนปี 1955 และเสียชีวิตในปี 1957 ก่อนการตัดสินโทษของศาล

การทดลองทั้งหลายส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ Block 10 คนที่เข้ามาที่นี่จะถูกทำการทดลองอันโหดร้ายต่างๆ ได้รับทุกข์ทรมานแสนสาหัส ส่วนน้อยที่ได้รอดชีวิตออกไป นี่เป็นแค่ตัวอย่างบางอันเท่านั้นครับ

block-10

  • Mustard gas experiments การทดลองผลของ mustard gas  จะทำให้เกิดบาดแผลที่รุนแรงและเจ็บปวด เพื่อทดลองหาวิธีการรักษาแผลดังกล่าว (ไม่ได้ลงรูปครับ มันดูน่ากลัว)
  • Hypothermia Experiment (รูปซ้าย) เชลยจะถูกแช่ในน้ำเย็นจัด ทำโดย Dr. Sigmund Rascher และผลการทดลองทำให้ทราบเป็นครั้งแรกว่า ถ้าอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส มนุษย์จะเสียชีวิต และศึกษาถึงการช่วยชีวิตจากภาวะนี้ด้วยวิธีต่างๆ เช่น การส่องด้วยหลอดไฟความร้อน การฉีดน้ำร้อนเข้าสู่กระเพาะลำไส้ การแช่ในน้ำร้อน เป็นต้น
  • High Altitude (รูปขวา) การทดลองความกดอากาศสูง โดยการนำเชลยไปอยู่ในห้องควบคุมแรงดัน แล้วทำการลดแรงดันและออกซิเจนในอากาศไปเรื่อยๆ เพื่อจำลองสภาวะความสูงที่ 20,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล และการบันทึกผลการทดลองที่แรงดันต่างๆ จนถึงแรงดันสุดท้ายที่ทำให้เหยื่อเสียชีวิต

หนทางสู่ความตาย

Block 11 (Death Block)

ผนังแห่งความตาย หรือ ผนังดำ (death wall หรือ black wall) ผนังนี้อยู่บนลานระหว่าง Block 10 และ 11 ที่ได้ชื่อผนังดำเพราะมีการสร้างผนังทาสีดำเป็นฉากหลังของการสังหารด้วยกระสุนปืน เนื่องจากพวกนาซีกลัวว่าผนังอิฐจะเป็นรอยจากกระสุนปืน เพียงช่วงเวลาระหว่างปี 1940 ถึง 1944 มีกว่า 20,000 ศพที่ต้องสังเวยชีวิตที่กำแพงดำนี้

lostfile_jpg_3989120lostfile_jpg_4005504

ก่อนจะนำออกไปสู่ลานประหาร จะจับถอดเสื้อผ้าเพื่อเอาเสื้อผ้าไปให้คนอื่นใช้ต่อไป

death-wall

 

เสื้อผ้าที่ถูกถอดออกมาก่อนเข้าสู่แดนประหาร และจะถูกนำไปให้คนอื่นใช้ต่อไป

lostfile_jpg_3912768

 

หน้าต่างของ block 11 ตรงบริเวณที่ถอดเสื้อผ้า มองออกมาจะเห็นชะตากรรมของตัวเองในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้า แต่ทหารมักจะนำผ้ามาปิดไม่ให้เห็นเพราะอาจจะแตกตื่น

lostfile_jpg_3939136

ก่อนที่จะเริ่มมีการยิงเป้า ที่ลานแห่งนี้มีการฆ่าโดนการแขวนคอมาก่อน

lostfile_jpg_3899584

นอกจากนี้ที่ block นี้ยังมีการทำโทษและทรมานด้วยวิธีต่างๆ อีก ซึ่งอยู่ที่ชั้นใต้ดินของ block 11

 

  • Standing Cell (คุกยืน) คนที่ถูกพาเข้ามาที่คุกนี้ จะต้องยืนอยู่ในห้องสี่เหลี่ยมขนาดแค่ 1 ตารางเมตร ซึ่งแต่ละห้องจะมีคนอยู่ 4 คน ทำให้กระดิกตัวแทบจะไม่ได้ (ห้ามถ่ายรูป รูปด้านล่างเอามาจาก wikipedia)
standing-cell
Standing Cell (Wikipedia)
  • Starvation Cell (คุกอดอาหาร) คนที่ถูกพามาขังที่นี่จะไม่ได้รับน้ำหรืออาหารอีกเลยจนกว่าจะเสียชีวิต (ห้ามถ่ายรูปเช่นกันครับ)

starvation-cell-block-11

auschwitz_i_block_11-copy
ทางเดินระหว่าง starvation cells (Wikipedia)

 

Maximillian Kolbe นักบวชที่เป็นนักโทษการเมืองที่ถูกส่งมาที่นี่เพราะให้ที่หลบซ่อนแก่ยิวกว่าสองพันคน ท่านอาสาที่จะตายแทนนักโทษคนหนึ่ง และท่านได้ถูกขังไว้ที่ starvation cell นี้ ในห้องจะมีดอกไม้และเทียนวางไว้เพื่อเป็นการไว้อาลัยตลอด

lostfile_jpg_3749376

การแขวนคอ

มักเกิดขึ้นตรงลานที่ใช้สำหรับเช็คชื่อ (roll call) ตอนเช้าและตอนเย็น ส่วนใหญ่จะทำกับคนที่พยายามหลบหนีไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนที่เหลือ

lostfile_jpg_4512768
ลานสำหรับแขวนคอ ตรงบริเวณลานเช็คชื่อ

การรมแก๊สพิษ

ห้องรมแก๊สพิษ (Gas Chambers) และเตาเผาศพ (Crematorium)

เป็นอีกสถานที่ที่สร้างความหดหู่ให้คนที่ได้เห็นไม่น้อยเลย การรมแก๊สพิษเริ่มตั้งแต่เมื่อประมาณเดือนกันยายน 1941 เพราะการสังหารโดยการยิงเป้านั้นสิ้นเปลืองลูกกระสุน เลยคิดหาวิธีกำจัดทีละมากๆ โดยการรมแก๊ส ซึ่งก็คือ Zyklon B มีฤทธิ์กลุ่มไซยาไนด์ โดยเริ่มแรกมีการทดลองใช้ปริมาณแก๊สที่ต่างๆ กันเพราะไม่มีใครรู้ว่าต้องใช้ปริมาณเท่าไรที่จะทำให้คนตายได้ในเวลาอันสั้น คนที่ถูกทดลองในระยะแรกน่าจะทรมานมาก เพราะเห็นว่าช่วงแรกก่อนที่จะรู้ปริมาณแน่นอนนั้นต้องใช้เวลาถึง 2 วันกว่าจะเสียชีวิต!

lostfile_jpg_2764288
Zyklon B

lostfile_jpg_2790400

 

ที่ Auschwitz I และ Birkenau มี gas chamber ทั้งหมด 5 หลัง แต่ละหลังจุคนได้ประมาณ 350-1400 ฃคน ถ้ารมพร้อมกันในวันเดียวจะทำให้คนตายได้ทั้งหมดวันละประมาณเกือบ 5,000 คน (แต่ข้อมูลบางแหล่งบอกกว่า 20,000 คนต่อวัน)

Gas Chamber ที่ Auschwitz I  มี 1 หลัง สภาพยังค่อนข้างสมบูรณ์เพราะไม่ถูกทำลายตอนสงครามและจากฝีมือพวกนาซี

lostfile_jpg_4843776lostfile_jpg_4828736

the-main-entrance-and-chimney-of-the-gas-chamber-and-crematorium-i-ayjkgw

 

ภายใน Gas Chamber (รูปด้านล่างทั้งหมดเอามาจาก internet ครับ เพราะตอนเข้าไปเห็นป้ายคล้ายห้ามถ่ายรูปเลยไม่ได้ถ่ายมา แต่สุดท้ายรู้สึกเป็นแค่ห้ามใช้แฟลชถ่าย)

gas-chamber
บริเวณที่คนถูกต้อนมายืนเปลือยกายรวมกัน
gas-chamber-2
รอยเล็บมือที่พบที่กำแพง แสดงถึงความทรมานก่อนเสียชีวิต
hole-gas-chamber
ปล่องด้านบนที่ใช้ปล่อยแก๊สลงมา

 

ศพที่ถูกฆ่านั้นส่วนหนึ่งจะนำไปเผา แต่ถ้ามีจำนวนมากๆ จะใช้การฝังแทน เพราะเผาไม่ทัน

crematorium
เตาเผาศพ

Gas chambers ที่ Birkenau มีเตาเผาทั้งหมด 4 เตา คือ Gas Chamber 2-5 ซึ่งส่วนใหญ่โดนพวกนาซีระเบิดทำลายหลักฐานตั้งแต่ช่วงโดนบุกยึดโดยทหารโซเวียต

lostfile_jpg_6030848
Gas Chamber 2-3

lostfile_jpg_6480576

lostfile_jpg_6463680
Gas Chamber 4-5
lostfile_jpg_6504512
Gas Chamber 4-5 (บันไดจริงที่เป็นทางเข้าไปห้องรมแก๊ส)

ภาพด้านล่างเป็นภาพที่ถูกถ่ายโดยผู้ถูกกักกัน ภาพขวาเป็นภาพขยายจากภาพซ้าย (ไม่รู้ถ่ายมาได้อย่างไรเหมือนกัน เพราะน่าจะโดนยึดทรัพย์สินไปแล้ว) เป็นรูปผู้หญิงที่ถูกจับแก้ผ้า

ภาพล่างเป็นภาพที่ถูกแอบถ่ายโดยเจ้าหน้าที่ – พอคนเสียชีวิต พวกทหารหรือเชลยคนอื่นจะขนศพออกมาและนำศพไปเผาในเตาเผาที่อยู่ข้าง ๆ ภายหลังจำนวนศพเยอะมากก็จะขุดหลุมและโยนศพลงไป

burning

 

เถ้ากระดูกส่วนหนึ่งของผู้เสียชีวิตถูกแสดงไว้ที่ block 4

lostfile_jpg_2476032

lostfile_jpg_2523200

Birkenau (Auschwitz II)

  • อยู่ห่างจากค่าย Auschwitz I ประมาณ 2 กิโลเมตร เดินทางไป-กลับจาก Auschwitz I โดย Shuttle bus ฟรีครับ มีขนาดใหญ่กว่า Auschwitz I มาก มีโรงนอนเป็นร้อยๆ หลัง มีห้องรมแก๊ส 4 หลัง 

birkenau-map

 

  • Shuttle bus จาก Auschwitz I จะมาจอดตรงใกล้ทางเข้า (ด้านล่างของแผนที่) เดินเข้าไปจะเห็นทางรถไฟ และสองฝั่งขอรางรถไฟเป็นอาคารต่างๆ ของค่าย เช่น โรงนอน โรงครัว แต่ก็ถูกระเบิดทำลายไปบางส่วน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นโรงเก็บทรัพย์สินของผู้ที่ถูกพามาที่นี่ (Kanada II) ที่เห็นอยู่ด้านบนของแผนที่และ Gas Chamber ทั้ง 4 หลังของที่นี่
  • การเดินชมที่นี่ อาจเดินตาม route ในแผนที่ด้านล่างครับ เริ่มจากตรงทางเข้าและเดินไปตามรางรถไฟ และเข้าไปในค่ายได้ทั้งสองฝั่ง หลังจากนั้นเดินไปจนสุดทางจะเป็นอนุสาวรีย์รำลึกถึงผู้เสียชีวิต (International Monument to the Victims of Fascism) ครับ และจะเจอ Gas chamber 2-3 จากนั้นเดินตามทางอ้อมป่าด้านหลังไปยัง Kanada II และ Camp Sauna และไปยัง Gas chamber 4-5 แล้วค่อยเดินย้อนกลับมาทางเดิมครับ (ที่นี่กว้างอยู่นะครับ เดินหอบเลยเหมือนกัน)

 

birkenau-route-copy-copy

รางรถไฟหน้าค่ายมองย้อนกลับไปทางประตูทางเข้า

lostfile_jpg_6993664lostfile_jpg_5520192

lostfile_jpg_5462976

อาคารส่วนใหญ่ในโซนนี้ถูกระเบิดทำลายจากพวกนาซีเพื่อทำลายหลักฐาน

lostfile_jpg_5915648lostfile_jpg_5625728

โรงนอนมีทั้งที่เป็นไม้ซึ่งแปรสภาพมาจากคอกม้า และอิฐซึ่งถูกสร้างใหม่เพื่อรองรับจำนวนคนที่มากขึ้น ดูสภาพภายในได้จากภาพด้านบนตอนต้นครับ ซึ่งแต่ละโรงนอนจุ (ยัด) คนเข้าไปกว่า 300 คน

lostfile_jpg_5059776lostfile_jpg_5656640

lostfile_jpg_5672896lostfile_jpg_5597184

อาคารหลายหลังกำลังผุพังไปตามกาลเวลา ทางการโปแลนด์ก็พยายามรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีที่สุด ปัจจุบันกำลังสร้างโครงครอบอาคารสองหลัง

lostfile_jpg_5903296

อนุสรณ์สถานรำลึกถึงเหยื่อผู้เสียชีวิต อิฐแต่ละก้อนแทนถึงผู้เสียชีวิตแต่ละคน

lostfile_jpg_6047552lostfile_jpg_6225842lostfile_jpg_6087360lostfile_jpg_6121664

สุดเขตค่ายด้านหลัง มีป้อมยาม รั้วไฟฟ้า และป่า

lostfile_jpg_6266432lostfile_jpg_6299456

Kanada II ที่ถูกทำลายเรียบ

lostfile_jpg_6285798lostfile_jpg_6287808

Camp Sauna อยู่ใกล้ๆ กับ Kanada ปัจจุบันจัดแสดงห้องต่างๆ ที่เป็นที่อาบน้ำ โกนผม ซักเสื้อผ้า และห้องสุดท้ายเป็นห้องที่รวบรวมรูปที่เก็บได้จากในค่าย เป็นรูปของคนที่ถูกพามาที่นี่เพื่อเป็นความทรงจำสำหรับตนเองในยามที่ต้องห่างบ้านเกิดเมืองนอน ยิ่งดูยิ่งเศร้าครับ

ห้องอาบน้ำ
เครื่องซักผ้า

 

รูปต่างๆ จำนวนมากมายในยามที่พวกเขามีความสุขกับครอบครัวและชีวิตที่เป็นอิสระก่อนจะถูกพามาที่นี่

lostfile_jpg_6833536lostfile_jpg_6749760lostfile_jpg_6764352

การปลดปล่อย

วันที่ 27 มกราคม 1945 กองทัพของโซเวียตได้บุกเข้ายึดค่าย Auschwitz จากนาซี และช่วยเหลือพวกที่ยังมีชีวิตอยู่ตอนนั้นได้ประมาณ 7,000 คน 

liberationliberation-2child-liberation

ภาพด้านล่างเป็นชีวิตของเหล่าเหยื่อที่เคยอยู่ในค่าย Auschwitz มาก่อน ถึงแม้ร่างกายจะหายจากความทุกข์ทรมาน แต่ใครจะรู้ว่าบาดแผลในใจมันจะมีวันหายดีหรือเปล่า….

lostfile_jpg_4298880

irene-fogel
Irene Vogel Weiss หนึ่งในผู้รอดชีวิต ถือรูปที่มีตัวเธออยู่ในรูปตอนถูกส่งมาที่ค่าย

รายชื่อของผู้เสียชีวิต สถานที่ และวันที่เสียชีวิตถูกรวบรวมเก็บไว้เป็นหนังสือเล่มหนาและยาวมาก ซึ่งถูกแสดงไว้ที่ block 27

lostfile_jpg_4241536lostfile_jpg_4251776

สุดท้ายไม่ว่าประวัติศาสตร์หน้านี้จะเป็นจริงมากน้อยแค่ไหนก็ตาม แต่หลักฐานที่พบนั้นก็เป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่แล้วถึงความโหดร้ายของมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์ด้วยกันเอง ไม่ว่าจะสูญเสียพันคน หมื่นคน หรือล้านคนตามที่กล่าวอ้างไว้ มันก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดกับมนุษยชาติอยู่ดี


lostfile_jpg_6135744

“For ever let this place be a cry of despair and a warning to humanity, where the Nazis murdered about one and a half million men, women, and children, mainly jews from various countries of Europe” 

 

 

About Breathe My World 68 Articles
A man who love travelling the world.