มัมมี่…เพื่อชีวิตหลังความตาย (เที่ยวอียิปต์ ตอนพิเศษ)

ช่วยไลค์ช่วยแชร์ครับ

 

 

ผมรู้จัก มัมมี่ จากการ์ตูนที่มีผีมัมมี่พันผ้าทั่วตัววิ่งไปวิ่งมา (ถ้าดูจากอายุคนเขียนคงเดาไม่ยากว่า เห็นจากการ์ตูนขายหัวเราะ มหาสนุก ซึ่งเด็กยุคนั้นต้องเคยได้อ่าน) นอกนั้นก็เห็นจากภาพยนตร์หรือจากสารคดี แต่เคยสงสัยไหมครับ ว่าเขาทำมัมมี่กันไปทำไม และขั้นตอนการทำเป็นอย่างไรบ้าง ตอนแรกคิดว่าแค่เอาผ้าพันๆ ศพ แล้วก็บรรจุโลงแค่นั้น แต่จริงๆ ผ่านขั้นตอนมากมายเพื่อให้ศพไม่เน่าเปื่อยและเรื่องพวกนี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย ยิ่งตอนไปเที่ยวอียิปต์ทำให้ได้เห็นสภาพมัมมี่ของจริงที่มีอายุกว่า 4,000 ปี ยิ่งทำให้ยิ่งทึ่งกันเข้าไปใหญ่

DSCF3042

แต่ยิ่งทึ่งกว่านั้น มันมีทั้ง มัมมี่แมว มัมมี่เป็ด เป็ด ลิง แพะ จระเข้ ลูกอ่อนจระเข้ ปลา มากมายไปหมด ติดตามมาดูได้เลยครับ

 

แต่จริงๆ มัมมี่ก็ไม่ได้มีแค่ที่อียิปต์ครับ มีการขุดค้นพบหลายๆ ที่ทั้งอเมริกา (ไม่นับที่ถูกขโมยไปจากอียิปต์นะครับ เขาก็มีของตัวเองเหมือนกัน ถึงจะน้อยก็เถอะ) อาร์เจนตินา เป็นต้นครับ แต่ที่รู้จักกันดีและเป็นส่วนหนึ่งของศาสตร์โบราณที่สำคัญก็คือที่อียิปต์นี่แหละครับ

ทำมัมมี่กันไปทำไม

ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณเกี่ยวกับเรื่องชีวิตหลังความตาย เขาเชื่อว่าวิญญาณสามารถกลับมาเข้าร่างได้ เขาจึงต้องทำการรักษาสภาพร่างกายให้สมบูรณ์ที่สุด

DSCF3098.jpg

รูปในบทความนี้ส่วนใหญ่ถ่ายมาจาก Mummification Museum ที่อียิปต์ครับ นอกนั้นก็ถ่ายมาจาก Egyptian Museum และ Luxor Museum ประเทศอียิปต์เช่นกัน ส่วนตุ๊กตาจำลองการทำมัมมี่ถ่ายมาจาก Field Museum ที่ Chicago ครับ

ขั้นตอนการทำมัมมี่

ชำระล้างร่างกายของศพให้สะอาด

Mummification 01.jpg


อวัยวะภายในจะถูกเอาออก

โดยจะเหลือหัวใจไว้เพียงอย่างเดียวเพราะเชื่อว่าหัวใจเป็นสิ่งที่แสดงถึงปัญญาและความรู้ซึ่งจะได้ติดตัวไปในโลกหลังความตาย สมองจะถูกเอาออกโดยการเจาะเข้าทางรูจมูก แล้วใช้เครื่องมือคล้ายตะขอเกี่ยวเอาออกมา และชำระล้างอวัยวะต่างๆ รวมทั้งภายในร่างให้สะอาดหมดจด

DSC_3798.jpg

โดยอวัยวะภายในที่เอาออกมาจะบรรจุไว้ในโถ 4 ใบ (Canopic Jars) ที่มีฝาเป็นบุตรของเทพ Horus คือ Kebechsenef (หัวเหยี่ยว falcon), Duamutef (หัวหมาใน Jackal), Hapi (หัวลิง baboon) และ Imset (หัวมนุษย์)

CanopicJars 4sons of horus.png

DSCF3091.jpgDSCF3010.jpg

รูปด้านล่างเป็นโถใส่อวัยวะภายในของมัมมี่ Tutankhamun ที่มีชื่อเสียง ด้านนอกฝาจะเป็นรูปของ Tutankhamun ส่วน canopic jar จะบรรจุอยู่ภายในอีกที ซึ่งแสดงไว้ที่ Egyptian museum (ห้ามถ่ายรูป เลยไม่มีรูปมาให้ดู)

DSCF0658.jpg

DSCF3056.jpg
ภายในกระโหลกศีรษะของมัมมี่ เอาสมองออกแล้วใส่ผ้าลินิน ขี้เลื่อย ไม้หอม เข้าไปแทนที่

กลบด้วยเกลือ

DSC_3800.jpg

จากน้ันจะกลบร่างด้วยเกลือเม็ด (natron) เพื่อทำให้ร่างกายศพแห้ง โดยจะทิ้งไว้ 40-70 วัน หลังจากครบเวลา จะล้าง และบรรจุสารจากพืชหอม น้ำมัน ผ้าลินินเข้าในช่องท้องและช่องอก


ชำระล้างร่างกายและห่อร่างมัมมี่

DSC_37981.jpg

เคลือบผิวร่างกายด้วยน้ำมันและสารจากพืชที่มีกลิ่นหอม จากนั้นห่อร่างมัมมี่ด้วยผ้าลินินที่เคลือบเรซินให้เรียบร้อย ซึ่งจะพันกันหลายชั้น และมีการวางเครื่องรางต่างๆ ไว้ด้วย

DSC_3786
ส่ิงของมีค่าและเครื่องรางที่จะถูกฝังไปกับมัมมี่ (ภาพ: Field Museum, Chicago)
DSC_3788
ภาพ: Field Museum, Chicago

หลังจากพันผ้ามัมมี่เรียบร้อยจะมีการทำหน้ากากวางไว้บนหน้าหรือสวมศีรษะของมัมมี่ไว้ ก่อนที่จะนำใส่ในโลงศพ

DSC_3809.jpg
ภาพ: Field Museum, Chicago

มีหน้ากากที่ขุดค้นพบมากมายแสดงไว้ที่ Egyptian Museum

DSCF0678.jpg
หน้ากากของมัมมี่เด็กผู้ชาย

DSCF0677.jpg

DSCF0682.jpg

โลงบรรจุมัมมี่จะเป็นไม้หรือหิน ภายในและภายนอกมักจะมีการวาดภาพต่างๆ ไว้ เช่น ภาพชีวิตหลังการตาย, เทพเจ้าต่างๆ, การมอบเครื่องบรรณาการ และ บทสวดต่างๆ

DSC_9819.jpg
โลงบรรจุมัมมี่ (ภาพ: Field Museum, Chicago)
DSCF3095.jpg
ภาพ: Mummification Museum

โลงที่ใส่มัมมี่อาจถูกใส่ในโลงชั้นนอกอีกชั้นหนึ่งหรือหลายชั้น

DSCF2893.jpg

อย่างของ Tutankhamun ถูกบรรจุซ้อนกันถึง 3 ชั้น ตามรูปด้านล่างถูกแสดงอยู่ที่ Egyptian Museum 2 ชั้น ส่วนอีกชั้นถูกจัดแสดงไว้ที่ Valley of the Kings ของจริงห้ามถ่ายรูป รูปด้านล่างเป็นอันจำลองอยู่ที่ร้านขายของที่ระลึกที่ Egyptian Museum


คืนร่างมัมมี่ให้ญาติมิตร

DSC_38051.jpg

โดยผู้ทำพิธีจะแต่งตัวเป็นเทพ Anubis ซึ่งเชื่อว่า Anubis จะเป็นผู้พาวิญญาณของผู้ตายเดินทางเข้าสู่ดินแดนหลังความตาย

เคลื่อนย้ายร่างมัมมี่ไปยังสุสาน

Mummification 05.jpg

Mummification 06.jpg

Mummification 07.jpg

Mummification 081.jpg


การเดินทางหลังความตาย

เรื่องราวของการเดินทางหลังความตาย (afterlife) และบทสวดต่างๆ จะถูกเขียนบนกระดาษปาปิรุส และถูกฝังหรือเก็บไว้ในสุสานกับมัมมี่ เพื่อเป็นการนำทางและป้องกันอันตรายให้กับวิญญาณ หนังสือนี้รู้จักกันในนามของ Book of the Dead ซึ่งมีเล่มที่ค่อนข้างสมบูรณ์ถูกจัดแสดงที่ British Museum ครับ เสียดายที่ยังไม่มีโอกาสเห็นของจริง

การเดินทางหลังความตาย ว่ากันว่าวิญญาณต้องผ่านอุปสรรคมากมาย ผ่านห้องที่ต้องพูดว่าไม่เคยทำสิ่งที่ไม่ดีต่างๆ อย่างไรบ้าง แก่บรรดาเทพเจ้าต่างๆ (ภาพด้านล่าง) และเข้าสู่ขั้นตอนการพิพากษาต่อไป

DSC_3794.jpg

การพิพากษา

DSC_37951.jpg

อุปกรณ์การทำมัมมี่

มีอุปกรณ์เครื่องมือหลายชนิดที่ถูกขุดค้นพบและถูกจัดแสดงไว้ที่ Mummification Museum

DSCF3017.jpg
แปรงที่ใช้ทำความสะอาดช่องท้อง

DSCF3018

รูปด้านล่าง : หมายเลข 1 เป็นแท่งเหล็กใช้แทงกระดูก (ethmoid) ในโพรงจมูกให้เป็นรูเพื่อเอาสมองออก และหมายเลข 2 เป็นอุปกรณ์เอาสมองออกผ่านทางรูที่เจาะ มีลักษณะคล้ายช้อน

DSCF3019

DSCF3049
ของเหลวที่พบในโลงศพ (ไม่รู้เอาไว้ทำอะไร)

เกลือ (natron) ที่ใช้หมักศพก่อนทำเป็นมัมมี่ และขี้เลื่อยที่ใช้ใส่ในช่องท้องและช่องอกของมัมมี่

DSCF3050

DSCF3036.jpg
หมอนและแคร่ที่ใช้วางศพ

มัมมี่

มีการขุดค้นพบมัมมี่มากมายเป็นหมื่นๆ (หรืออาจเป็นแสนๆ) ในอียิปต์ หลายร่างถูกขโมยไปขายตามประเทศต่างๆ และส่วนหนึ่งถูกรวบรวมแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประจำเมือง

DSC_3791.jpg
ภาพ: Field Museum
Field Museum
มัมมี่เด็กที่ Field Museum

มัมมี่นักบวชที่ Mummification Museum

แต่ที่ทำให้ลืมไม่ลง (ตื้นตัน) คือการได้มายืนอยู่ตรงหน้ามัมมี่ของฟาโรห์องค์ต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของอียิปต์โบราณ ซึ่งส่วนใหญ่ถูกจัดแสดงไว้ที่ห้อง Royal Mummies Gallery ที่ Egyptian Museum (ห้ามถ่ายรูปครับ รูปด้านล่างเอามาจาก internet)

Ramses II mummy.jpg
มัมมี่ของฟาโรห์ Ramses II
Hatshepsut mummy.jpg
มัมมี่ของ Hatshepsut ฟาโรห์หญิงที่ถูกลืม

มัมมี่ของฟาโรห์ Tutankhamun ผู้โด่งดัง ถูกแสดงไว้ที่ Valley of the Kings

Tut mummy.jpg
มัมมี่ฟาโรห์ Tutankhamun

มัมมี่ที่จัดแสดงที่ Luxor Museum

DSCF2924
มัมมี่ฟาโรห์ Ahmose
DSCF2918
มัมมี่ที่คาดว่าจะเป็นฟาโรห์ Ramses I

ใครว่ามัมมี่มีแต่คน

ไม่จริงครับ…มีสัตว์หลายชนิดมากที่ค้นพบว่าถูกทำเป็นมัมมี่เช่นกัน โดยจุดประสงค์การทำมัมมี่สัตว์ ก็เพื่อถวายเป็นเครื่องบรรณาการในการบูชาเทพเจ้า เพราะเทพของชาวอียิปต์โบราณบางองค์จะมีศีรษะเป็นรูปสัตว์ อย่างเช่น Sobek มีศีรษะเป็นจระเข้ ดังนั้นวิหารที่สร้างเพื่อบูชาเทพ Sobek อย่าง Kom Ombo จะพบมัมมี่จระเข้มากมาย จนต้องสร้างพิพิธภัณฑ์ Crocodile Museum อยู่ข้างๆ วิหาร อีกสาเหตุนึงคือเป็นเครื่องบรรณาการแก่วิญญาณในชีวิตหลังความตาย

มีตัวอะไรบ้างมาดูกันเลยครับ

DSCF3042

มัมมี่จระเข้
DSCF3039
มัมมี่ลูกจระเข้
DSCF3090.jpg
มัมมี่แกะ (ram)
DSCF3054.jpg
มัมมี่เป็ด (เหมือนเป็ดปักกิ่งมาก)
DSCF3038.jpg
มัมมี่ปลา
DSCF3037.jpg
มัมมี่ขาแพะ และห่าน
DSCF3027
มัมมี่ลิง
DSCF3026.jpg
มัมมี่นกช้อน (ibis)

สิ่งของต่างๆ ที่ถูกฝังหรือเก็บไว้ในสุสาน ซึ่งเกิดจากความเชื่อของชีวิตหลังความตาย ซึ่งจริงๆ มีเป็นล้านๆ ชิ้น แต่ถูกขโมย ขายมือต่อมือ จนตอนนี้กระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ทั่วโลก (รวมทั้งบ้านของหลายๆ คนด้วยมั้งครับ) เพราะไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหน จะต้องมีส่วนแสดงของอียิปต์ทั้งนั้นเลย

DSCF3048.jpg

DSCF3067.jpg

DSCF3087.jpg

เป็นไงบ้างครับ เรื่องราวของการทำมัมมี่ มีหลายอย่างที่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น ก็ได้มาเห็นที่อียิปต์นี่ล่ะครับ ผมฟินมากๆๆ 555 เดินออกจาก Mummification Museum อย่างอิ่มใจ (แต่เพื่อนร่วมทริปนี่นั่งเซ็งรออยู่หน้าพิพิธภัณฑ์ ในใจคงคิดว่าไอ้นี่จะเดินวนดูอะไรนักหนา) 

DSCF3084

คงปิดซีรีย์อียิปต์ด้วยบทความนี้แล้วครับ ถือว่าเป็นทริปที่เหนื่อยแต่แสนประทับใจในประวัติศาสตร์ที่เคยแต่เห็นในหนังสือ ในทีวี ในภาพยนตร์ พอได้มาเห็นจริงๆ ยิ่งชอบเข้าไปใหญ่ครับ

 

ติดตามบทความเก่าๆ 3 ตอนได้จากลิงค์ด้านล่างครับผม ขอบคุณครับ

 

 

 

About Breathe My World 68 Articles
A man who love travelling the world.