ยิ่งสูง…ยิ่งเหนื่อย

จะจัดการความกลัวการเที่ยวที่สูงอย่างไร

LostFile_JPG_19319424

การได้ไปเที่ยวที่สูงๆ คงเป็นความใฝ่ฝันของหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเมือง ภูเขา ยอดเขา ฯลฯ แต่ก็คงมีอีกหลายคนที่ไม่กล้าไปเพราะกลัว…ถ้ากลัวความสูง คงแก้ยาก (งั้นก็ไม่ต้องไป 555) แต่ถ้ากลัวเกิดอาการจากการไปที่สูงแล้วล่ะก็ ทางนี้มีคำแนะนำครับ

 

ขอเล่าเรื่องการเดินทางที่ Machu Picchu แบบคร่าวๆแทรกไปเป็นระยะๆ นะครับ จะได้ไม่เบื่อกันซะก่อน

 

โดยส่วนตัวก็ไม่เคยไปปีนเขาสมบุกสมบันที่ไหน สูงสุดก็ไปแค่ดอยอินทนนท์ซึ่งตอนนั้นก็ไม่ได้มีอาการอะไร เพราะขับรถขึ้นไป เดี๋ยวเดียวก็ลงมาแล้ว เลยยังไม่ทันมีอาการอะไรเลยคิดว่าไป Machu Picchu ก็ไม่น่าจะเป็นไรมั้งงงง….แต่คิดผิด เพราะตอนผมไป Machu Picchu แทบไม่ได้หยุดที่เมือง Cusco เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัวตามที่คนเขาแนะนำเลย เพราะเวลาจำกัด

 

LostFile_JPG_1211776

LostFile_JPG_5551808

LostFile_JPG_2370560

LostFile_JPG_1884416ภาพ: เมือง Cusco, Peru ~ เมืองสวยๆ แต่สูงเสียดฟ้า 3,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล

.

แค่ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเหยียบเมือง Cusco เดินขึ้นเนินนิดเดียวก็เหนื่อยหายใจแรง เหมือนจะหายใจไม่ทันซะแล้ว มึนๆ งงๆ ด้วย แต่ยังโชคดีครับเพราะพอได้นอนพักซัก 2-3 ชั่วโมง กินน้ำเยอะๆ อาการก็ดีขึ้นตามลำดับ ทำให้วันรุ่งขึ้นที่เดินทางไป Machu Picchu ไม่หมดสภาพมาก และปีนถึงจุดหมาย (ยอด Huayna Picchu) ได้โดยสวัสดิภาพ (ถึงต้องพักยกหลายรอบก็เถอะครับ)

อีกสาเหตุที่ทำให้ไม่มีอาการเหนื่อยนักตอนปีนเขา เพราะก่อนที่จะปีน ผมพักที่เมืองใกล้ Machu Picchu ต่ออีก 1 คืน คือ เมือง Aguas Calientes แต่เมืองนี้ก็ไม่ได้อยู่สูงมากครับ แค่ประมาณ 1,880 เมตรเท่านั้น ทำให้ไม่ค่อยมีอาการมาก แต่ก็ช่วยให้ปรับตัวได้

.

ภาพ: รถไฟและวิวระหว่างทางจาก Cusco ไป Aguas CalientesLostFile_JPG_3712320

LostFile_JPG_2593810

LostFile_JPG_3104192

LostFile_JPG_3048128

ภาพ: เมือง Aguas CalientesLostFile_JPG_3687744

LostFile_JPG_3393216

LostFile_JPG_3419072

LostFile_JPG_3496128

 

 

ที่ไหนบ้างที่ต้องระวัง

สถานที่เที่ยวที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมากๆ มีเยอะมากครับ ยกตัวอย่างตามรูปข้างล่างเลยครับเทียบคร่าวๆ กับสิ่งก่อสร้างและสถานที่ที่คุ้นเคยกันดี

Sea level 1

 

อันนี้แค่ความสูงแบบเด็กๆ ย่างเข้าวัยรุ่นครับ ยังมีอีกหลายที่ที่สูงกว่ามากๆ เช่น เทือกเขาในทิเบต, เนปาล, Everest base camp (5,400 เมตร) หรือยอดเขาเอเวอร์เรสต์ (สูงกว่า 8,800 เมตร)

 

LostFile_JPG_4197888ภาพ: Machu Picchu และ Huayna Picchu (ยอดเขาทางด้านหลัง), Peru

.

สูงแค่ไหนถึงเริ่มมีอาการ

…โดยทั่วไปมักมีอาการเมื่อขึ้นไปที่สูงเกินกว่า 2,500 เมตรขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลด้วยว่าจะมีอาการหรือไม่และมีมากหรือน้อยแค่ไหน

 

 

Al

 

ความสูงที่มักทำให้มีอาการมาก คือความสูงตั้งแต่ 3,500 เมตรขึ้นไป (very high and extreme altitude) ซึ่งผู้เดินทางจำเป็นต้องวางแผนและเตรียมตัวป้องกันให้ดีก่อนเสมอ

 

แล้วทำไมเวลาขึ้นเครื่องบินเราถึงไม่มีอาการอะไรทั้งที่เครื่องบินบินสูงในระดับหลายพันเมตร

…นั่นก็เพราะภายในห้องโดยสารเขาปรับแรงดันอากาศให้เหมาะสมแล้วคือเทียบเท่ากับที่สูงประมาณ 1,500-2,000 เมตร และร่างกายเรามีการปรับตัวทำให้เราสามารถหายใจในระดับดังกล่าวได้โดยไม่มีอาการอะไรผิดปกติ

 

 

อาการผิดปกติเกิดขึ้นได้อย่างไร

พูดให้เข้าใจง่าย ก็คือ ในที่สูงจะมีแรงดันอากาศและความเข้มข้นของออกซิเจนน้อยกว่าระดับน้ำทะเล และยิ่งสูงก็ยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ เช่น ที่ความสูง 3,000 เมตร (ประมาณ 9,800 ฟุต) จะมีแรงดันของออกซิเจนในอากาศแค่ 70% ของที่ระดับน้ำทะเล เป็นต้น เป็นผลทำให้ร่างกายมีระดับออกซิเจนในเลือดลดลงด้วย ก่อให้เกิดการตอบสนองของระบบต่างๆ ของร่างกายซึ่งทำให้เกิดอาการผิดปกติตามมาได้

 

Altitude 2

 

การตอบสนองของร่างกาย   

อาการของ high-altitude sickness เช่น

  • หายใจเร็ว
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • มีการกระตุ้นระบบประสาท sympathetic
  • มีการหดเกร็งของเส้นเลือดในปอด ทำให้มีแรงดันของเส้นเลือดในปอดสูงขึ้น มีการรั่วซึมของสารน้ำออกมาภายนอกหลอดเลือด เกิดภาวะน้ำท่วมปอด เรียกภาวะนี้ว่า high altitude pulmonary edema (HAPE)

 

High altitude lung

 

  • มีการขยายตัวของเส้นเลือดสมอง เลือดไปยังสมองเพิ่มมากขึ้น เกิดการรั่วซึมของสารน้ำออกมาภายนอกหลอดเลือด เกิดสมองบวม เรียกภาวะนี้ว่า high altitude cerebral edema (HACE)

 

High altitude brain

 

กลุ่มอาการหรือโรคที่เกิดจากการอยู่ในที่สูงมีอะไรบ้าง

มีได้ตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงรุนแรงจนเสียชีวิตได้ขึ้นกับปัจจัยหลายๆ อย่าง

 

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้มีอาการรุนแรง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการนั้นไม่ขึ้นกับอายุ เพศ หรือเชื้อชาติ (ก็คือ ทำนายไม่ได้ว่า ใครจะเกิดหรือไม่เกิดภาวะนี้)  แต่จะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการขึ้นที่สูงมากกว่า เช่น

  • ความสูงของพื้นที่ที่จะไป
  • ความเร็วในการขึ้นที่สูง ถ้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ร่างกายจะปรับตัวไม่ทันทำให้มีโอกาสเกิดอาการมากขึ้น
  • กิจกรรมการออกแรงมากๆ เช่น วิ่ง หรือออกกำลังกายหนักๆ
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น เคยมีอาการจากการขึ้นที่สูงมาก่อน, มีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจหรือโรคปอดบางประเภท (ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ) เป็นต้น

 

LostFile_JPG_3011584ภาพ: Inca Trail, ค่อยๆ เดินปรับระดับความสูง ก็สามารถช่วยลดโอกาสเกิดอาการได้

 

กลุ่มอาการหรือโรคที่เกิดจากการอยู่ในที่สูงเรียกรวมๆ ได้เป็น high-altitude sickness

ซึ่งมีหลายชนิดทั้งกลุ่มที่มีอาการแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง กลุ่มที่มีอาการแบบเรื้อรังมักเกิดในคนที่ต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่สูงนานๆ แต่สำหรับนักท่องเที่ยวอย่างเราๆ ท่านๆ มักจะมีปัญหากับการเกิดกลุ่มอาการที่เกิดแบบเฉียบพลันมากกว่าครับ ซึ่งมีอยู่ 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ

1. Acute mountain sickness (AMS) เป็นกลุ่มอาการที่มีความรุนแรงไม่มาก มักจะมีอาการหลังจากขึ้นไปที่สูงประมาณ 4-10 ชั่วโมง และอาการจะดีขึ้นได้เองภายใน 1-3 วัน ซึ่งพบได้ประมาณ 9-40% ในระดับความสูงไม่เกิน 3,500 เมตร เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะนี้ (Lake Louise diagnostic criteria) คือ

  • อาการปวดหรือมึนศีรษะ
  • ร่วมกับอาการต่อไปนี้อย่างน้อย 1 อย่าง คือ เบื่ออาหาร, คลื่นไส้หรืออาเจียน, อ่อนเพลีย, วิงเวียนศรีษะ, หรือนอนไม่หลับ

2. High Altitude Pulmonary Edema (HAPE) คือ ภาวะปอดบวมน้ำจากการอยู่ในที่สูง เป็นกลุ่มอาการที่มีความรุนแรง อาจเป็นสาเหตุของการหายใจหรือระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลวได้ เกณฑ์การวินิจฉัย อาศัยอาการหรืออาการแสดงต่อไปนี้

  • มีอาการ (symptom) อย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้ คือ มีอาการหอบเหนื่อยขณะพัก, ไอ, อ่อนเพลีย/ออกแรงได้น้อยลง, แน่นหน้าอก หรือนอนราบไม่ได้
  • หรือ มีอาการแสดง (sign) อย่างน้อย 2 ข้อต่อไปนี้ คือ มีเสียงการหายใจผิดปกติ, ตัวและปากเขียว, ออกซิเจนในเลือดต่ำ, หายใจเร็ว หรือชีพจรเต้นเร็ว

3. High Altitude Cerebral Edema (HACE) คือ ภาวะสมองบวมจากการอยู่ในที่สูง พบได้ประมาณ 0.1-4% เป็นกลุ่มอาการที่มีความรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตสูงถึง 15-20% เกณฑ์การวินิจฉัย คือ

  • มีอาการของ AMS ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว (สับสน ซึม เห็นภาพหลอน) และ/หรือ เดินเซ
  • มีการเปลี่ยนแปลงของระดับความรู้สึกตัว และ เดินเซ โดยที่อาจจะไม่มีอาการของ AMS ร่วมด้วยก็ได้
  • นอกจากอาการดังกล่าว อาจมีการเห็นภาพหลอน โคม่า หมดสติ และเสียชีวิตได้

 

รักษาได้อย่างไร

  • ถ้ามีอาการไม่รุนแรง เช่น AMS ให้พักผ่อน ไม่ออกแรงเพื่อลดการใช้ออกซิเจนของร่างกาย ดื่มน้ำให้เพียงพอ และ/หรือการให้ออกซิเจนในระยะสั้นๆ ควรรับประทานอาหารอ่อนและย่อยง่าย หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
  • ถ้ามีอาการมาก ให้กลับลงสู่พื้นที่ต่ำทันที และปรึกษาแพทย์โดยเร็ว แพทย์อาจพิจารณาให้ยาขับปัสสาวะ หรือยากลุ่มสเตียรอยด์ หรือการรักษาอื่นๆ ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้

 

จะป้องกันการเกิดกลุ่มอาการเหล่านี้ได้อย่างไร

  • การป้องกัน เป็นการปฏิบัติที่สำคัญที่สุด ก่อนที่จะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น
  • ศึกษาแผนและเส้นทางการเดินทางอย่างดี ว่าจะต้องเดินทางขึ้นที่สูงหรือไม่ และมีเวลาพักก่อนขึ้นที่สูงหรือพักระหว่างจุดนานแค่ไหน
  • ปรับแผนการเดินทางให้ไม่ขึ้นที่สูงเร็วเกินไป เช่น แวะพักเมืองที่ต่ำกว่าประมาณ 1-2 วันเพื่อการปรับตัว
  • ถ้าไม่มีเวลาพอที่จะพักร่างกายเพื่อปรับตัว ควรปฏิบัติตัวอย่างระมัดระวังเมื่ออยู่ในที่สูง  เช่น งดการออกกำลัง, ดื่มน้ำบ่อยๆ และสังเกตอาการผิดปกติของตนเอง พักผ่อนมากๆ, งดแอลกอฮอล์​โดยเฉพาะช่วง 2 วันแรกหลังขึ้นที่สูง หากมีอาการของ AMS อาการมักจะหายไปได้เองใน 1-2 วัน หรือถ้ามีอาการรุนแรงมาก ควรปรึกษาแพทย์และเดินทางลงสู่พื้นที่ต่ำกว่าทันที
  • คนที่ติดกาแฟ (คาเฟอีน) เขาแนะนำให้อย่าอด เพราะอาการจากการขาดคาเฟอีน (เช่น ปวดหัว) อาจทำให้สับสนกับอาการของ high altitude sickness (ไม่ได้ทำให้โอกาสเกิดโรคเยอะขึ้นนะครับ แต่อาการอาจคล้ายกันเฉยๆ)
  • การใช้ยา เพื่อป้องกันการเกิด high altitude sickness ไม่จำเป็นต้องกินทุกราย ควรพิจารณาเป็นรายๆ ไป เช่น คนที่ขึ้นที่สูงเกิน 3500 เมตรใน 1 วัน หรือเคยมีอาการมาก่อน เป็นต้น ยาที่ใช้ ได้แก่ Acetazolamide (Diamox®) ให้ขนาด 125-250 มิลลิกรัม (บางท่านแนะนำให้กิน 250 มก. เลย) ทุก 12 ชั่วโมง ก่อนที่จะขึ้นที่สูงประมาณ 1-2 วัน (ไม่ควรกินก่อนเกิน 5 วัน) และกินต่อ 2 วันหลังขึ้นที่สูง (หรือต้องกินต่อเนื่อง ถ้ายังเดินทางขึ้นที่สูงขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงจุดสูงสุด) ซึ่งพบว่าอาจช่วยลดการเกิดหรือลดความรุนแรงของการเกิด high-altitude sickness ได้ (อ้างอิงจากคำแนะนำ CDC Yellow Book 2024 และ DeLellis SM, et al. Curr Sports Med Rep. 2013 Mar-Apr;12(2):110-4.) อย่างไรก็ตาม คนมีโรคประจำตัว ก่อนกินยาต้องปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอครับ

 

LostFile_JPG_7771584ภาพ: Huayna Picchu, Peru ~ อย่าออกแรงหนักเกินไป พกน้ำติดตัวตลอดเวลา

 

 

ลุยกันต่อ

หลังจากที่ผมรอดพ้นจากกลุ่มอาการดังกล่าวมาได้แล้ว ก็ลุยต่อกันเลยครับ…

Machu Picchu หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่หลายคนใฝ่ฝันจะมาเยือน ผมก็เช่นกันครับ ที่นี่เป็นเมืองหนึ่งของชาวอินคาที่เพิ่งถูกค้นพบโดยชาวอเมริกันเมื่อปี 1911 ซึ่งตอนที่สเปนบุกมายึดคุสโกไม่พบเมืองนี้ (ถ้าพบอาจโดนทำลาย ไม่เหลือไว้ให้พวกเราได้มาเที่ยวชมแบบทุกวันนี้) และปัจจุบันก็ยังไม่มีใครรู้สาเหตุจริงๆ ของการก่อตั้งมาชูปิชู ที่นี่สูงน้อยกว่าเมือง Cusco ผมเลยไม่มีอาการอะไรทั้งที่ต้อง hiking ขึ้นยอด Huayna Picchu รายละเอียดของจุดต่างๆ ในเมืองนี้ ไว้จะหาโอกาสมาเขียนเต็มๆ อีกทีนะครับ

 

LostFile_JPG_4096640

LostFile_JPG_4056128

LostFile_JPG_5586176

.

Huayna Picchu หรือ Wayna Picchu เป็นยอดเขาอีกด้านของเทือกเขานี้ เป็นอีกจุดไฮไลท์ที่น่ามาปีนมากครับ

 

LostFile_JPG_7462784

LostFile_JPG_9978432

LostFile_JPG_9828160

LostFile_JPG_9728256

.

ปิดท้ายด้วยวิวบนยอด Huayna

เล่นเอาหายเหนื่อยเลยครับ มองเห็น Machu Picchu อยู่เบื้องล่าง (ทางด้านขวา) รูปร่างของเมืองคล้ายนก Condor ซึ่งเป็นนกสำคัญของที่นี่

LostFile_JPG_9102272

LostFile_JPG_9168448

 

อย่าลืมนะครับ ถ้ามีโอกาส ไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนก็ตาม การเตรียมตัว ศึกษาหาข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะถ้าป่วยหรือมีอาการอะไรผิดปกติ มันจะทำให้หมดสนุกเอาง่ายๆ

 

 

 

About Breathe My World 68 Articles
A man who love travelling the world.